บ้านหัวตากล้า หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านปิน อำเภอลอง จังหวัดแพร่
…………………………………………
ส่วนที่ 1 สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน
ประวัติหมู่บ้าน
บ้านหัวหัวตากล้า หมู่ที่ 8 ตำบล บ้านปิน เป็นหมู่บ้านที่แยกออกมาจากบ้านทุ่งตากล้า หมู่ที่ 3 ฉะนั้นประวัติความเป็นมาก็คงเหมือนกับบ้านทุ่งตากล้า คือ เป็นหมู่บ้านที่มีพื้นที่ในการทำนาและมีที่ราบลุ่มอยู่ทางตอนเหนือ ( หัวบ้าน ) ก่อนจะทำนาราษฎรจะใช้พื้นที่บริเวณหัวบ้านนี้ หว่านกล้า เพื่อใช้ในการดำนา จึงเรียกว่าบ้านหัวตากล้า ในปัจจุบันมีการเขียนชื่อหมู่บ้านที่ผิดเพี้ยนไป เช่น บ้านหัวตะกล้า ซึ่งแปลว่าบ้านตระกล้าใส่ของ และเป็นความหมายที่ผิดไปจากตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมาการเขียนที่ถูกต้องตามความหมายคือ บ้านหัวตากล้า
ที่ตั้ง
บ้านหัวตากล้าอยู่ทางทิศใต้ขององค์กาลบริหารส่วนตำบลบ้านปิน มีพื้นที่ประมาณ 2,800 ไร่ ห่างจากที่ว่าการอำเภอ 7 กิโลเมตร
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ 2 ตำบลบ้านปิน
ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ 5 ตำบลบ้านปิน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ 2 และ 5 ตำบลบ้านปิน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ 3 ตำบลบ้านปิ
การคมนาคม
บ้านหัวตากล้ามีเส้นทางคมนาคมที่สะดวกสบาย ถนนภายในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่มีถนนหลวงระหว่างจังหวัดผ่านหมู่บ้าน ระยะทางห่างจากอำเภอ 6 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 15 นาที
ลักษณะภูมิประเทศ/ลักษณะภูมิอากาศ
บ้านหัวตากล้าประกอบไปด้วยพื้นที่ราบสลับเนินเขาติดต่อป่าสงวนแห่งชาติ ฤดูแล้งได้รับน้ำในการทำการเกษตรและปลูกพืชผักจากอ่างเก็บน้ำหมู่ 1 การทำนาต้องอาศัยน้ำจากน้ำฝนถ้าปีใดฝนไม่ตกตรงกับฤดูกาล การทำนาจะได้ผลผลิตต่ำ
ประชากร
บ้านหัวตากล้ามีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 177 ครัวเรือน ประชากรชาย 291 คน หญิง 287 คน รวม 578 คน
ประชากรนับถือศาสนาพุทธ
สภาพทางเศรษฐกิจ
ราษฎรประกอบอาชีพทางการเกษตรคือการทำนาเป็นหลัก อาชีพรองได้แก่ การปลูกพืชผัก การค้าขาย การทอผ้าและการรับจ้าง เศรษฐกิจของหมู่บ้านอยู่ในระดับที่พึ่งพาตนเองได้ รายได้เฉลี่ยประชากร 30,000.- บาท/คน/ปี
สถานที่บริการ
- ร้านค้าภายในหมู่บ้าน จำนวน 8 แห่ง
- อยู่ซ่อมรถยนต์ จำนวน 1 แห่ง
- ร้านตัดผม จำนวน 1 แห่ง
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ จำนวน 1 แห่ง
- ศาลาหมู่บ้าน จำนวน 2 แห่ง
- หอกระจายข่าว จำนวน 1 แห่ง
- ประปาหมู่บ้าน จำนวน 1 แห่ง
- ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง จำนวน 1 แห่ง
ข้อมูลสถาบัน/กลุ่ม/กลุ่มอาชีพ/กองทุน
- กองทุนหมู่บ้าน บ้านหัวตากล้า จัดตั้งเมื่อ พ.ศ.2544 เงินกองทุน 1,200,000.-บาท
- กลุ่มสตรีทอผ้าจัดตั้งเมื่อ พ.ศ.2545 สมาชิก 63 คน
- กลุ่มอาชีพทอผ้า จัดตั้งเมื่อ พ.ศ.2546 สมาชิก 75 คน
- กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จัดตั้งเมื่อ พ.ศ.2545 สมาชิก 110 คน
- กลุ่มแปรรูปและถนอมอาหาร จัดตั้งเมื่อ พ.ศ.2548 สมาชิก 62 คน
ส่วนที่ 2 การประเมินสถานการณ์พัฒนาหมู่บ้าน
ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน
สรุปผลการสำรวจข้อมูล จปฐ. ปี 2551 บ้านหัวตากล้า หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านปิน มีตัวชี้วัดที่ไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 2 ตัวชี้วัดคือ
ข้อที่ |
ตัวชี้วัด จปฐ.ที่ตกเกณฑ์ |
จำนวนครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ |
ร้อยละ |
สาเหตุที่ตกเกณฑ์ |
25 | เด็กจบภาคบังคับ 9 ปี ได้เรียนต่อมัธยมปลาย | 2 คน | 7.5 | ออกมาช่วยครอบครัวประกอบอาชีพ |
33 | คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่ | 25 คน | 1.2 | เกษตรกรผู้ใช้แรงงานนิยมสูบบุหรี่ |
ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไข
- จัดหาทุนการศึกษา
- ส่งเสริมและสนับสนุนเงินทุนในการประกอบอาชีพให้กับครอบครัว
- สาธารณสุขให้ความรู้โทษพิษภัย และโรคอันอาจจะเกิดจากการสูบบุหรี่
- อสม. , ผู้นำชุมชน รณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่
- ร้านค้าภายในชุมชน / หมู่บ้านลดการจำหน่ายบุหรี่
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล กชช. 2ค ปี2550
ข้อที่ | ตัวชี้วัด | ระดับคะแนน | สาเหตุที่เป็นปัญหาตามค่าคะแนน |
8 | การมีงานทำ | 1 | แรงงานอพยพไปทำงานต่างถิ่น |
12 | ผลผลิตจากการทำเกษตอื่นๆ | 1 | ผลผลิตตกต่ำ |
17 | การกีฬา | 1 | ขาดอุปกรณ์ฝึกซ้อมกีฬา |
31 | การจัดการสภาพสิ่งแวดล้อม | 1 | แรงงานอพยพไปทำงานต่างถิ่น |
27 | คุณภาพดิน | 2 | ดินไม่มีคุณภาพ |
29 | การปลูกป่าหรือไม้ยืนต้น | 2 | มีการส่งเสริมการปลูกป่าน้อย |
สรุปการวิเคราะห์ข้อมูล กชช. 2 ค บ้านหัวตากล้า เป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนา ระดับ 2
ผลการวิเคราะห์ศักยภาพชุมชน (SWOT ANALYSIS)
จุดแข็ง | จุดอ่อน |
1. ความพร้อมเพรียงของผู้นำชุมชน
2 การมีส่วนร่วมของประชาชนสูง. 3. มีกลุ่ม/องค์กรชุมชน ที่เข้มแข็ง 4. รักวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น |
1. พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าและภูเขา
2. ขาดตลาดกลางที่จะรับซื้อผลผลิตทางการ เกษตร 3. ปัญหาหนี้สินของเกษตรกร 4. ปัญหาเอกสารสิทธิ์ และการถือครองที่ดิน ทำกินของราษฎร |
โอกาส | ข้อจำกัด |
1. ผู้นำชุมชนมีความรู้ ความสามารถในการ
บริหาร จัดการชุมชน 2. ทางหลวงจังหวัดผ่านหมู่บ้าน เป็นช่องทา ง ในการจัดร้านค้าริมทางและส่งเสริมแหล่ง ท่องเที่ยว 3. นโยบายการปราบปรามยาเสพติดและผู้มี อิทธิพลอย่างจริงจัง 4. ผลผลิตส้มเขียวหวาน ข้าวโพด มีปริมาณ มาก 5. รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนโครงการพัฒนา ลุ่มน้ำยมเพื่อแก้ปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง |
1. ปัญหาการอพยพแรงงาน
2. ต้นทุนการผลิตพืชผลทางการเกษตร สูง 3. ปัญหาการติดต่อสื่อสาร (ไม่มีโทรศัพท์ สาธารณะ) 4. กระแสวัฒนธรรมตะวันตก ทำให้เกิด ปัญหาวัยรุ่น
|
ส่วนที่ 3 โครงการ/กิจกรรม และผลการพัฒนาหมู่บ้านในรอบปีที่ผ่านมา
บ้านหัวตากล้า ได้รับงบประมาณสนับสนุนด้านโครงการ/กิจกรรม จากส่วนราชการต่างๆ ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด ปกครอง พัฒนาชุมชน เกษตร สาธารณสุข ประมง ปศุสัตว์ ฯลฯ ปรากฏผลการพัฒนา ดังนี้
ด้านเศรษฐกิจ
- ส่งเสริมอาชีพและสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนให้กับสมาชิกกลุ่มอาชีพทอผ้า ทำหน่อไม้ปีบ ปลูกถั่วเหลือง
- ปล่อยปลาบริเวณอ่างเก็บน้ำ สระเก็บน้ำ ของกลุ่มเยาวชน สระเก็บน้ำของเกษตรกร เพื่อเพิ่มแหล่งอาหารโปรตีนและประชาชนมีรายได้เสริม
ด้านสังคม
- จัดตั้งหมู่บ้านปลอดยาเสพติด ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ โทษและพิษภัยของยาเสพติด 2. อบรมตำรวจบ้าน ป้องกันปัญหายาเสพติด ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
งานจราจร
- การแข่งขันกีฬาท้องถิ่นสัมพันธ์ สร้างความสามัคคี การออกกำลังกาย ห่างไกลยาเสพติด
- อบรมฟื้นฟูการพัฒนาสตรี สร้างอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ สร้างความสามัคคี ความเข้มแข็งของกลุ่ม/เครือข่าย
- สงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส ผู้ไร้ที่พึ่ง คนพิการ คนชราซึ่งขาดผู้ดูแล เป็นการแสดงให้เห็นว่าสังคมมิได้ทอดทิ้งเขาเหล่านั้น เพราะเขาก็เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
- ก่อสร้างถนน ดสม. ตามซอยในหมู่บ้าน ประชาชนได้รับความสะดวกในการสัญจรไปมาภายในหมู่บ้าน
- ติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะ(ไฟกิ่ง) ป้องกันอุบัติเหตุในเวลากลางคืนและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ซ่อมแซมถนนลูกรัง ทำให้เกษตรกรขนถ่ายผลผลิตทางการเกษตรได้อย่างสะดวก รวดเร็ว
ด้านแหล่งน้ำ
- ก่อสร้างทางระบายน้ำ คสล. ดาดลำเหมืองคอนกรีตเพื่อระบายน้ำเข้าสู่พื้นที่ทำการเกษตร
- ปรับปรุงระบบประปาหมู่บ้าน เพื่อประชาชนมีน้ำสะอาด อุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอ
ด้านสาธารณสุข
- ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ทำให้สุนัขและแมวไม่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า
- แจกทรายอะเบทและพ่นหมอกควัน กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ป้องกันโรคไข้เลือดออกและไข้สมองอักเสบ
- สนับสนุนการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจต้านภัยโรคไข้ฉี่หนู
ด้านการเมือง
- ส.อบต. ได้รับการฝึกอบรมสมนา เพิ่มพูนความรู้เพื่อนำมาใช้ในการปฏิบัติงาน
- การให้บริการข้อมูลข่าวสาร
ด้านการศึกษาและวัฒนธรรม
- ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการอาหารกลางวันและอาหารเสริม(นม) ให้แก่โรงเรียน
- สนับสนุนการจัดกิจกรรมเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- อบรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมเยาวชนรักและไม่ทำลายป่าไม้ต้นน้ำลำธาร
- โครงการปลูกต้นไม้สองข้างทางถนน เพิ่มร่มเงาและทัศนียภาพที่สวยงาม
ส่วนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ประเมินชุมชน
จากการวิเคราะห์ข้อมูลและการสังเคราะห์ศักยภาพชุมชนโดยผ่านเวทีประชาคม พบว่า
- ผู้นำชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนให้ความเคารพนับถือผู้นำ ปราชญ์ชาวบ้านมีกลุ่ม/องค์กรชุมชน เข้มแข็ง เช่น กองทุนหมู่บ้าน(กทบ.) กลุ่มทอผ้า อสม. กพสม. และกลุ่มเยาวชน เป็นต้น
- ชุมชนมีความสามัคคี พึ่งพาอาศัยกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน วิถีชีวิตมีการสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมแบบไทยล้านนา
- อาชีพเสริมของชุมชนคือ การทอผ้า ซึ่งสร้างรายได้และเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาดั้งเดิมรวมถึงการถ่ายทอดสู่เยาวชนรุ่นหลังอย่างดียิ่งและการปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อบริโภคภายในครอบครัว
- ประชาชนมีรายได้เฉลี่ย 31,000.-บาทต่อคนต่อปี (จปฐ. ปี 2564)
ส่วนที่ 5 แนวโน้มทิศทางการพัฒนาหมู่บ้าน
วิสัยทัศน์ของหมู่บ้าน
หมู่บ้านการเกษตร วิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
– พัฒนาและส่งเสริมอาชีพตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
– เสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน
– อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น
อัตลักษณ์ของหมู่บ้าน
หมู่บ้านที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชผลทางการเกษตร
ตำแหน่งการพัฒนาหมู่บ้าน
ส่งเสริมการปลูกส้มเขียวหวาน ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงปลาและการทอผ้า
ส่วนที่ 6 ข้อเสนอแนะของนักพัฒนา
- บ้านหัวตากล้า หมู่ที่ 8 เป็นหมู่บ้านการเกษตร ทำนา ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และทำสวนส้มเขียวหวาน ปัญหาที่เกิดขึ้นแก่เกษตรกรคือ เรื่องแหล่งทำการเกษตร ปุ๋ยและราคาผลผลิต
เรื่องแหล่งน้ำการเกษตร ควรนำน้ำจากอ่างเก็บน้ำภายในหมู่บ้านมาใช้ประโยชน์ให้มากกว่านี้ โดยมีการบริหารจัดการที่ดี
เรื่องปุ๋ย ควรแนะนำส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยคอก โดยเฉพาะการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเกษตรกรใช้ทรัพยากรภายในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุดคือ โรงงานปุ๋ยชีวภาพที่บ้านอ้ายลิ่ม หมูที่ 5 ตำบลทุ่งแล้ง
เรื่องราคาพืชผลทางการเกษตร ต้องแนะนำให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะส้มเขียวหวาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลผลิตต้องมีคุณภาพและได้มาตรฐาน เกษตรกรจะถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าตลอดเวลา
- นอกจากอาชีพหลักทางการเกษตรแล้ว ราชการควรส่งเสริมอาชีพรอง เพื่อเป็นรายได้เสริมของครอบครัว เช่น กลุ่มทำปลาร้า กลุ่มทอผ้า โดยยึดแนวการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง
- การส่งเสริมความมั่นคงของสถาบันครอบครัว เนื่องจากเยาวชนได้รับแบบอย่างพฤติกรรมของต่างประเทศ จากสื่อต่างๆเช่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ โทรศัพท์มือถือ ชุมชนจะต้องหันกลับมาดูครอบครัว ส่งเสริมความเป็นอยู่แบบไทย จัดตั้งศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ชมรมดนตรีไทยและการจัดการแข่งขันกีฬา เป็นต้น