แหล่งเรียนรู้ » แหล่งเรียนรู้ บ้านปิน หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านปิน ( การสืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น )

แหล่งเรียนรู้ บ้านปิน หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านปิน ( การสืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น )

24 มกราคม 2022
278   0

บ้านปิน หมู่ที่ 5  ตำบลบ้านปิน  อำเภอลอง  จังหวัดแพร่

ส่วนที่  1  สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน

 

ประวัติหมู่บ้าน

ชุมชน “บ้านปิน” ก่อตั้งขึ้นสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐาน จากตำนานที่ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าสืบต่อกันมาว่าเมื่อครั้งในสมัยพุทธกาลนั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระองค์สัมเร็จพระอรหันต์ พระองค์พร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 รูป ได้เสด็จมาที่เขาดอยน้อย ( วัดพระธาตุดอยน้อยในปัจจุบันนี้ ) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของบ้านปินประมาณ 1 กิโลเมตร ได้เสด็จพระธรรมเทศนาโปรดราษฎรและมีหญิงหม้ายคนหนึ่งเกิดความเลื่อมใสศรัทธาขึ้น จึงได้ถอดปิ่นที่ปักมวยผมถวายแด่พระพุทธองค์ เพื่อเป็นพุทธบูชา พระองค์ได้ทรงรับไว้และได้มีทำนายว่าในอนาคตกาลในบริเวณนี้จะเกิดเป็นบ้านเมืองซึ่งจะมีความเจริญรุ่งเรื่องและเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และมีชื่อว่า “บ้านปิ่น” ซึ่งต่อมาได้เรียกเป็น “บ้านปิน” จนถึงปัจจุบัน

ที่ตั้ง  /อาณาเขต

 

ทิศเหนือ         ติดต่อกับ บ้านหัวตะกล้า หมู่ที่ 8 ตำบล บ้านปิน

ทิศใต้              ติดต่อกับ บ้านนาหม้อ หมู่ 6 ตำบล ห้วยอ้อ

ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ บ้านใหม่ หมู่ที่ 4 ตำบล บ้านปิน

ทิศตะวันตก    ติดต่อกับ บ้านทุ่งตะกล้า หมู่ที่ 3 ตำบล บ้านปิน

บ้านปินมีเส้นทางคมนาคมที่สะดวกสบายภายในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่และถนนลาดยาง ห่างจากตัวอำเภอ 5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 10 นาที การคมนคมติดต่อมีรถยนต์โดยสารรับจ้าง และรถมอเตอร์ไซต์รับจ้าง บริการตลอดทั้งปี นอกจากนี้ยังมีเส้นทางรถไฟสายเชียงใหม่กรุงเทพผ่านหมู่บ้านมีชื่อเรียกว่า สถานีรถไฟบ้านปิน

ลักษณะภูมิประเทศ/ภูมิอากาศ บ้านปิน หมู่ 5 ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง มี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว ฤดูร้อนอากาศร้อนจัด ฤดูหนาวอากาศหนาวจัด

ประชากร    บ้านปิน มีครัวเรือน จำนวน  157  ครัวเรือน จำนวน ประชากรชาย จำนวน  163 คน  ประชากรหญิง จำนวน  238  คน  รวม  466 คน ประชากรนับถือศาสนาพุทธ

สภาพทางเศรษฐกิจ   ราษฎรประกอบอาชีพทางการเกษตรคือการทำนาเป็นหลัก อาชีพรองได้แก่ การปลูกพืชผัก การค้าขาย การทอผ้าและการรับจ้าง เศรษฐกิจของหมู่บ้านอยู่ในระดับที่พึ่งพาตนเองได้ รายได้เฉลี่ยประชากร 30,000.- บาท/คน/ปี

สถานที่บริการ

ร้านค้าภายในหมู่บ้าน จำนวน 12  แห่ง

  1. อู่ซ่อมรถยนต์ จำนวน  1  แห่ง
  2. ร้านตัดผม จำนวน  1  แห่ง
  3. ที่อ่านหนังสือพิมพ์ จำนวน  1  แห่ง
  4. ศาลาหมู่บ้าน จำนวน  1  แห่ง
  5. หอกระจายข่าว จำนวน  1  แห่ง
  6. ประปาหมู่บ้าน จำนวน  1  แห่ง
  7. ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง จำนวน  2  แห่ง
  8. สถานีรถไฟ จำนวน 1 แห่ง
  9. ป้อมตำรวจบริการประชาชน จำนวน  1  แห่ง
  10. วัด จำนวน 1  วัด

ข้อมูลสถาบัน/กลุ่ม/กลุ่มอาชีพ/กองทุน

  1. กองทุนหมู่บ้าน บ้านปิน จัดตั้งเมื่อ พ.ศ.2544 เงินกองทุน

1,060,000.-บาท

  1. กลุ่มสตรีทอผ้าจัดตั้งเมื่อ พ.ศ.2545 สมาชิก 63 คน
  2. กลุ่มแปรรูปและถนอมอาหาร จัดตั้งเมื่อ พ.ศ.2548 สมาชิก 25 คน
  3. กลุ่มทำพรมเช็ดเท้า จัดตั้งเมื่อ พ.ศ.2549 สมาชิก 35 คน

5.กลุ่มเยาวชน จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2538 สมาชิก 25 คน

  1. ชมรมผู้สูงอายุ จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2545 สมาชิก 30 คน
  2. ชมรมอาสาพัฒนา จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2549 สมาชิก 25 คน
  3. กลุ่มอาชีพผลิตข้าวกล้อง จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2549 สมาชิก 30 คน

 

ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน

สรุปผลการสำรวจข้อมูล จปฐ. ปี 2551 บ้านปิน หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านปิน มีตัวชี้วัดที่ไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 2 ตัวชี้วัดคือ

 

 

ข้อที่

 

ตัวชี้วัด จปฐ.ที่ตกเกณฑ์

จำนวนครัวเรือนที่ตกเกณฑ์  

ร้อยละ

 

สาเหตุที่ตกเกณฑ์

25 เด็กจบภาคบังคับ 9 ปี ได้เรียนต่อมัธยมปลาย 2 คน 7.5 ออกมาช่วยครอบครัวประกอบอาชีพ
33 คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่ 40 คน 2 เกษตรกรผู้ใช้แรงงานนิยมสูบบุหรี่

 

ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไข

  1. จัดหาทุนการศึกษา
  2. ส่งเสริมและสนับสนุนเงินทุนในการประกอบอาชีพให้กับ

ครอบครัว

  1. สาธารณสุขให้ความรู้โทษพิษภัย และโรคอันอาจจะเกิดจากการ

สูบบุหรี่

  1. อสม. , ผู้นำชุมชน รณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่
  2. ร้านค้าภายในชุมชน / หมู่บ้านลดการจำหน่ายบุหรี่

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล กชช. 2ค ปี2550

 

ข้อที่ ตัวชี้วัด ระดับคะแนน สาเหตุที่เป็นปัญหาตามค่าคะแนน
8 การมีงานทำ 1 แรงงานอพยพไปทำงานต่างถิ่น
12 ผลผลิตจากการทำเกษตอื่นๆ 1 ผลผลิตตกต่ำ
17 การกีฬา 1 ขาดอุปกรณ์ฝึกซ้อมกีฬา
31 การจัดการสภาพสิ่งแวดล้อม 1 แรงงานอพยพไปทำงานต่างถิ่น
27 คุณภาพดิน 2 ดินไม่มีคุณภาพ
29 การปลูกป่าหรือไม้ยืนต้น 2 มีการส่งเสริมการปลูกป่าน้อย

 

สรุปการวิเคราะห์ข้อมูล กชช. 2 ค บ้านปิน เป็นหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนา  ระดับ  2

 

 

ผลการวิเคราะห์ศักยภาพชุมชน (SWOT  ANALYSIS)

 

                           จุดแข็ง                              จุดอ่อน
1. ความพร้อมเพรียงของผู้นำชุมชน

2 การมีส่วนร่วมของประชาชนสูง.

3. มีกลุ่ม/องค์กรชุมชน ที่เข้มแข็ง

4. รักวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น

1. พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าและภูเขา

2. ขาดตลาดกลางที่จะรับซื้อผลผลิตทางการ

เกษตร

3. ปัญหาหนี้สินของเกษตรกร

4. ปัญหาเอกสารสิทธิ์ และการถือครองที่ดิน

ทำกินของราษฎร

                         โอกาส                            ข้อจำกัด
1. ผู้นำชุมชนมีความรู้ ความสามารถในการ

บริหาร จัดการชุมชน

2. ทางหลวงจังหวัดผ่านหมู่บ้าน เป็นช่องทา ง

ในการจัดร้านค้าริมทางและส่งเสริมแหล่ง

ท่องเที่ยว

3. นโยบายการปราบปรามยาเสพติดและผู้มี

อิทธิพลอย่างจริงจัง

4. ผลผลิตส้มเขียวหวาน  ข้าวโพด มีปริมาณ

มาก

5. รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนโครงการพัฒนา

ลุ่มน้ำยมเพื่อแก้ปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง

1. ปัญหาการอพยพแรงงาน

2. ต้นทุนการผลิตพืชผลทางการเกษตร สูง

3. ปัญหาการติดต่อสื่อสาร (ไม่มีโทรศัพท์

สาธารณะ)

4. กระแสวัฒนธรรมตะวันตก ทำให้เกิด

ปัญหาวัยรุ่น

 

 

ส่วนที่  3  โครงการ/กิจกรรม และผลการพัฒนาหมู่บ้านในรอบปีที่ผ่านมา

บ้านปิน ได้รับงบประมาณสนับสนุนด้านโครงการ/กิจกรรม จากส่วนราชการต่างๆ  ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนตำบล  องค์การบริหารส่วนจังหวัด  ปกครอง  พัฒนาชุมชน  เกษตร  สาธารณสุข  ประมง  ปศุสัตว์ ฯลฯ ปรากฏผลการพัฒนา  ดังนี้

 

ด้านเศรษฐกิจ

 

  1. ส่งเสริมอาชีพและสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนให้กับสมาชิกกลุ่มอาชีพทอผ้า ทำหน่อไม้ปีบ ปลูกถั่วเหลือง
  2. ปล่อยปลาบริเวณอ่างเก็บน้ำ สระเก็บน้ำ ของกลุ่มเยาวชน สระเก็บน้ำของเกษตรกร  เพื่อเพิ่มแหล่งอาหารโปรตีนและประชาชนมีรายได้เสริม

 

ด้านสังคม

 

  1. จัดตั้งหมู่บ้านปลอดยาเสพติด ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ โทษและพิษภัยของยาเสพติด 2. อบรมตำรวจบ้าน ป้องกันปัญหายาเสพติด ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

งานจราจร

  1. การแข่งขันกีฬาท้องถิ่นสัมพันธ์ สร้างความสามัคคี การออกกำลังกาย ห่างไกลยาเสพติด
  2. อบรมฟื้นฟูการพัฒนาสตรี สร้างอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ สร้างความสามัคคี ความเข้มแข็งของกลุ่ม/เครือข่าย
  3. สงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส ผู้ไร้ที่พึ่ง คนพิการ คนชราซึ่งขาดผู้ดูแล เป็นการแสดงให้เห็นว่าสังคมมิได้ทอดทิ้งเขาเหล่านั้น เพราะเขาก็เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

 

  1. ก่อสร้างถนน ดสม. ตามซอยในหมู่บ้าน ประชาชนได้รับความสะดวกในการสัญจรไปมาภายในหมู่บ้าน
  2. ติดตั้งไฟฟ้าสาธารณะ(ไฟกิ่ง) ป้องกันอุบัติเหตุในเวลากลางคืนและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
  3. ซ่อมแซมถนนลูกรัง ทำให้เกษตรกรขนถ่ายผลผลิตทางการเกษตรได้อย่างสะดวก รวดเร็ว

 

 

 

 

ด้านแหล่งน้ำ

 

  1. ก่อสร้างทางระบายน้ำ คสล. ดาดลำเหมืองคอนกรีตเพื่อระบายน้ำเข้าสู่พื้นที่ทำ การเกษตร
  2. ปรับปรุงระบบประปาหมู่บ้าน เพื่อประชาชนมีน้ำสะอาด อุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอ

 

ด้านสาธารณสุข

 

  1. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ทำให้สุนัขและแมวไม่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า
  2. แจกทรายอะเบทและพ่นหมอกควัน กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ป้องกันโรคไข้เลือดออกและไข้สมองอักเสบ
  3. สนับสนุนการดำเนินงานโครงการชุมชนร่วมใจต้านภัยโรคไข้ฉี่หนู

 

 

 

ด้านการเมือง

 

  1. ส.อบต. ได้รับการฝึกอบรมสมนา เพิ่มพูนความรู้เพื่อนำมาใช้ในการปฏิบัติงาน
  2. การให้บริการข้อมูลข่าวสาร

 

ด้านการศึกษาและวัฒนธรรม

 

  1. ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการอาหารกลางวันและ

อาหารเสริม(นม) ให้แก่โรงเรียน

  1. สนับสนุนการจัดกิจกรรมเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ

 

ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

  1. อบรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมเยาวชนรักและไม่ทำลาย

ป่าไม้ต้นน้ำลำธาร

  1. โครงการปลูกต้นไม้สองข้างทางถนน เพิ่มร่มเงาและทัศนียภาพที่สวยงาม

 

ส่วนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ประเมินชุมชน

 

จากการวิเคราะห์ข้อมูลและการสังเคราะห์ศักยภาพชุมชนโดยผ่านเวทีประชาคม พบว่า

 

  1. ผู้นำชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนให้ความเคารพนับถือผู้นำ ปราชญ์ชาวบ้านมีกลุ่ม/องค์กรชุมชน เข้มแข็ง เช่น กองทุนหมู่บ้าน(กทบ.) กลุ่มทอผ้า อสม. กพสม. และกลุ่มเยาวชน เป็นต้น
  2. ชุมชนมีความสามัคคี พึ่งพาอาศัยกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน วิถีชีวิตมีการสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมแบบไทยล้านนา
  3. อาชีพเสริมของชุมชนคือ การทอผ้า ซึ่งสร้างรายได้และเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาดั้งเดิมรวมถึงการถ่ายทอดสู่เยาวชนรุ่นหลังอย่างดียิ่งและการปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อบริโภคภายในครอบครัว
  4. ประชาชนมีรายได้เฉลี่ย 31,000.-บาทต่อคนต่อปี (จปฐ. ปี 2550)

 

ส่วนที่ 5 แนวโน้มทิศทางการพัฒนาหมู่บ้าน

 

วิสัยทัศน์ของหมู่บ้าน

 

หมู่บ้านการเกษตร วิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

 

 

 

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

 

– พัฒนาและส่งเสริมอาชีพตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

– เสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน

– อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น

 

 

 

 

อัตลักษณ์ของหมู่บ้าน

 

หมู่บ้านที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชผลทางการเกษตร

 

ตำแหน่งการพัฒนาหมู่บ้าน

 

ส่งเสริมการปลูกข้าว  ทำการเกษตรแบบไร่นาสวนผสม

 

 

ส่วนที่ 6 ข้อเสนอแนะของนักพัฒนา

 

  1. บ้านปิน หมู่ที่ 5 เป็นหมู่บ้านการเกษตร ทำนา ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และทำสวนส้มเขียวหวาน ปัญหาที่เกิดขึ้นแก่เกษตรกรคือ เรื่องแหล่งทำการเกษตร ปุ๋ยและราคาผลผลิต

เรื่องแหล่งน้ำการเกษตร ควรนำน้ำจากอ่างเก็บน้ำภายในหมู่บ้านมาใช้ประโยชน์ให้มากกว่านี้ โดยมีการบริหารจัดการที่ดี

เรื่องปุ๋ย ควรแนะนำส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยคอก โดยเฉพาะการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเกษตรกรใช้ทรัพยากรภายในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุดคือ โรงงานปุ๋ยชีวภาพที่บ้านอ้ายลิ่ม หมูที่ 5 ตำบลทุ่งแล้ง

เรื่องราคาพืชผลทางการเกษตร ต้องแนะนำให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะส้มเขียวหวาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลผลิตต้องมีคุณภาพและได้มาตรฐาน เกษตรกรจะถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าตลอดเวลา

  1. นอกจากอาชีพหลักทางการเกษตรแล้ว ราชการควรส่งเสริมอาชีพรอง เพื่อเป็นรายได้ เสริมของครอบครัว เช่น กลุ่มทำปลาร้า กลุ่มทอผ้า โดยยึดแนวการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง
  2. การส่งเสริมความมั่นคงของสถาบันครอบครัว เนื่องจากเยาวชนได้รับแบบอย่างพฤติกรรมของต่างประเทศ จากสื่อต่างๆเช่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ โทรศัพท์มือถือ ชุมชนจะต้องหันกลับมาดูครอบครัว ส่งเสริมความเป็นอยู่แบบไทย จัดตั้งศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน ชมรมดนตรีไทยและการจัดการแข่งขันกีฬา เป็นต้น