

โหระพาเป็นไม้ล้มลุก ความสูงของลำต้นประมาณ 0.5-1 เมตร ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม กิ่งอ่อนสีม่วงอมแดง ใบโหระพาเป็นใบเดี่ยว ทรงรูปรีหรือรูปไข่ ใบกว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 4-6 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมน ขอบจักเป็นฟันเลื่อยห่าง ๆ บนใบมีขนปกคลุมลามไปถึงลำต้น ใบโหระพามีน้ำมันหอมระเหยจึงทำให้มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
ดอกโหระพามีสีขาวหรือชมพูอ่อน ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 7-12 เซนติเมตร บริเวณดอกมีใบประดับสีเขียวอมม่วง กลีบดอกมีโคนเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนผลโหระพาเป็นผลขนาดเล็ก เมล็ดเล็กเท่าเมล็ดงา ออกสีน้ำตาลเข้ม
โหระพา ประโยชน์และสรรพคุณทางยาที่น่าสนใจ
นอกจากโหระพาจะมีกลิ่นหอม ช่วยทำให้อาหารน่ากินแล้ว สรรพคุณของโหระพายังมีตามนี้เลยค่ะ
1. แก้ปวดฟัน

2. ช่วยให้เจริญอาหาร
กลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหยที่มีอยู่ในใบโหระพามีสรรพคุณช่วยขับลม ทำให้เจริญอาหาร
3. แก้ปวดหัว แก้หวัด

คั้นน้ำจากใบโหระพาประมาณ 2-4 กรัม แล้วนำน้ำโหระพามาผสมน้ำผึ้งเล็กน้อย จิบแก้ไอและหลอดลมอักเสบได้ หรือจะใช้ใบโหระพาร่วมกับขิงก็ได้เช่นกันค่ะ
5. ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องอืด-ท้องเฟ้อ

6. แก้บิด ช่วยระบาย
เมล็ดของโหระพามีเมือกที่ช่วยหล่อลื่นลำไส้ ช่วยเพิ่มปริมาณกากใยอาหารทำให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมล็ดโหระพาแช่น้ำ กินแก้ปวดท้องบิด ช่วยระบาย
7. ช่วยให้ความรู้สึกสงบ
น้ำมันโหระพามีกลิ่นหอมหวาน มีคุณสมบัติช่วยให้เกิดความรู้สึกสงบเมื่อสูดดม ช่วยให้มีสมาธิ และลดอาการซึมเศร้า
8. โหระพา ไล่ยุงได้อยู่หมัด

9. ฆ่าเชื้อสิว
ผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยนเรศวร พบว่า สารสกัดเอทานอลของใบโหระพามีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดสิวได้ดีที่สุด เมื่อเทียบกับพืชตระกูลโหระพาอื่น ๆ เช่น กะเพรา เป็นต้น
โหระพา อันตรายก็มี
มีข้อควรระวังในการใช้น้ำมันหอมระเหยจากโหระพาในการทำสปาด้วยนะคะ โดยน้ำมันหอมระเหยจากโหระพาอาจทำให้เกิดอาการแพ้ง่าย ดังนั้นสตรีมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยงในการใช้น้ำมันหอมระเหยจากโหระพาด้วยนะคะ

หลายคนสับสนระหว่างใบโหระพา ใบกะเพรา และใบแมงลัก เนื่องจากลักษณะใบจะมีความคล้ายคลึงกัน และแม้โหระพาจะเป็นพืชตระกูลเดียวกับกะเพราและแมงลัก แต่ก็มีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก โดยเฉพาะกลิ่นของสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด จะมีความหอมที่แตกต่างกันชัดเจน เพราะมีน้ำมันหอมระเหยคนละชนิดกันนั่นเอง
เมนูจากโหระพา ทำอะไรได้บ้าง

รู้อย่างนี้แล้วก็คงอยากกินโหระพาให้มากขึ้นกันแน่ ๆ ใช่ไหมคะ แต่ไม่ว่าจะกินโหระพาแบบสด ๆ เป็นผักแกล้มอาหารอื่น ๆ หรือใส่ใบโหระพาลงไปในอาหาร ก็อย่าลืมล้างโหระพาให้สะอาดหมดจดก่อนกินด้วยล่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ